คู่มือการใช้งาน MDFiles

     Components MDFile เป็นโปรแกรมเสริม หรือ Components เพื่อเพิ่มความสามารถให้กับ Joomla ในการทำให้เว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย MDFile เป็น Component สำหรับจัดการอัพโหลด (Upload) ไฟล์ต่างๆ เช่น ไฟล์ Zip, PDF, Microsoft word, Microsoft Excel, MP4 เป็นต้น เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดไฟล์ที่อัพโหลดผ่านการดาวน์โหลด (Download) ไฟล์และเอกสารบนเว็บไซต์ได้ MDFile ครอบคลุมทุกส่วนในการทำงานเกี่ยวกับการจัดการไฟล์สำหรับดาวน์โหลด นอกจากนี้ MDFile ยังมีส่วนเสริมที่สามารถนำมาติดตั้งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ MDFile คือ MDFiles Recent, MDFiles Categories, MDFiles popular และ MDFiles Featured


ส่วนเสริม Components MDFiles

Module ที่ติดตั้งแล้วช่วยเสริมให้ MDFiles ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • MDFiles Recent

  • MDFiles Categories

  • MDFiles popular

  • MDFiles Featured


ขั้นตอนการใช้งาน Components MDFiles

ขั้นตอนที่ 1: ทำการติดตั้ง Components MDFiles เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้วในส่วนของ Control Panel จะแสดง MDFiles เลือก Components > MDFiles



















ขั้นตอนที่ 2: เมื่อเข้ามาที่ MDFiles จะประกอบไปด้วย 4 ส่วนหลักๆ คือ

  • Categories         :    ไว้สร้างหมวดหมู่ หรือจัดกลุ่มให้เอกสาร หรือ ไฟล์ข้อมูล

  • Documents        :    ไว้สร้างเอกสรแบ่งย่อยจาก Categories

  • Files                   :    ไว้อัพโหลด รูปภาพ ไฟล์ zip และไฟล์อื่นๆ

  • Links                  :    ไว้สำหรับแนบลิงค์ดาวน์โหลด

 

ขั้นตอนที่ 3: ในส่วนของ Categories สำหรับสร้างหมวดหมู่ หรือจัดกลุ่มให้เอกสาร หรือไฟล์ข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงไฟล์ดาวน์โหลดได้ง่ายขึ้น
















ขั้นตอนที่ 4: การสร้าง Categories เลือก New บนแถบ Menu ด้านบน


















ขั้นตอนที่ 5: การสร้าง Categories จะมี 2 ส่วน Details, Publishing Option ส่วนของ Details รายละเอียดต่างๆ ของหมวดหมู่ข้อมูลที่ต้องกรอก

  • Category Name กำหนดชื่อหมวดหมู่

  • Alias กำหนดนามแฝง หากไม่ระบุระบบจะกำหนดให้ อัตโนมัติ

  • Category image กำหนดรูปภาพให้หมวดหมู่ โดยเปิดภาพจากในเครื่อง

  • Show image กำหนดการแสดงภาพประจำหมวดหมู่

  • Decription ใส่คำอธิบายให้กับหมวดหมู่





























ส่วนของ Publishing Option ใส่ส่วนนี้ไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลระบบจะใส่ข้อมูลให้อัตโนมัติ เมื่อกรอกข้อมูลทั้งหมดแล้ว เลือก Save & Close เพื่อบันทึกข้อมูล






















ขั้นตอนที่ 6: เมื่อสร้าง Categories จะแสดงชื่อหมวดหมู่ที่เราสร้าง Status คือสถานะในการใช้งาน เครื่องหมายถูก สถานะเปิดใช้งาน

 


ขั้นตอนที่ 7: ในส่วนของ Document เป็นส่วนของการรวบรวมไฟล์โหลดได้หลายๆ ไฟล์ โดยเป็นหมวดย่อย ของ Category ซึง Category จะเป็นการรวบรวบ Document ไว้ได้หลายๆ หมวด

 


ขั้นตอนที่ 8: ขั้นตอนการสร้าง Document เลือก New บนแถบ Menu ด้านบน





















ขั้นตอนที่ 9: ส่วนของการสร้าง Documents Form จะประกอบไปด้วย 3 ส่วน Details, Publishing Options, License

ในส่วนของ Details รายละเอียด ข้อมูลที่ต้องกรอก

  • Title กำหนดชื่อ Documents

  • Alias กำหนดนามแฝง หากไม่ระบุระบบจะกำหนดให้ อัตโนมัติ

  • image กำหนดรูปภาพให้หมวดหมู่ โดยเปิดภาพจากในเครื่อง

  • Categories  เลือก หมวดหมู่ ที่ทำการสร้างไว้ใน ขั้นตอนที่ 4

  • Files Attachment สามารถอัพโหลดไฟล์ หรือเลือกไฟล์ที่อัพโหลดแล้วจากส่วนนี้ ขั้นตอนนี้่จำเป็นต้องแนบไฟล์ดาวน์โหลดด้วยถึงจะสามารถสร้าง Document ได้

  • Decription ใส่คำอธิบาย

 


ในส่วนของ Publishing Options รายละเอียดข้อมูลที่ต้องกรอก

  • Status  กำหนดให้เปิดการใช้งาน

  • Start - Finish Publishing  กำหนดวันเปิด - ปิดการใช้งาน

 


ในส่วนของ License เป็นการใส่ลิขสิทธิ์ของไฟล์เอกสาร ที่อยู่ใน Document กำหนดผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และรายละเอียด หากเป็นเจ้าของไฟล์เองไม่จำเป็นต้องกำหนดเมื่อใส่ข้อมูลครบทั้ง 3 ส่วนทำการ Save & Close เพื่อบันทึก

 


ขั้นตอนที่ 10: เมื่อสร้าง Document แล้วแสดงชื่อไฟล์ที่สร้าง Status สถานะเปิดการใช้งาน แสดงชื่อ Categories ที่เลือก

 

ขั้นตอนที่ 11: ส่วนของ Files เป็นเมนูสำหรับดาวน์โหลดไฟล์เก็บไว้ เพื่อให้ส่วนของ Document เรียกใช้งานโดยเลือกไฟล์ที่อยู่ในเครื่องอัพโหลดไว้ในระบบ




















ขั้นตอนที่ 12: ไฟล์ที่ถูกอัพโหลดจะแสดงในหน้า Files โดยจะมีรายละเอียด

  • Status แสดงการเปิดการใช้งาน

  • Title แสดงชื่อไฟล์ที่ถูกอัพโหลดเข้ามา

  • File Size แสดงขนาดไฟล์ที่อัพโหลด

  • Allow Files Extension แสดงประเภทไฟล์

 


ขั้นตอนที่ 13: วิธีการอัพโหลดไฟล์ จากเมนู File เลือก Upload จากเมนูด้านบนแสดงหน้าอัพโหลด เลือก Add files

 

เมื่อเลือกไฟล์แล้ว ไฟล์ยังไม่ถูกอัพโหลดเลือกที่ Start upload เพื่อทำการอัพโหลด

 

แสดงไฟล์ที่ถูกอัพโหลดเข้าสู่ระบบ สามารถเรียกใช้ไฟล์นี้ได้

 

ขั้นตอนที่ 14: Link จะแตกต่างจากเมนู Files ซึ่ง Link จะเป็นการฝากลิ้งดาวน์โหลดไว้ที่ระบบโดยที่ไฟล์ไม่ได้อยู่ที่ระบบ แต่สามารถที่จะดาวน์โหลดได้เช่นกัน

 


ขั้นตอนที่ 15: ไฟล์ที่ถูกใส่ Link จะแสดงในหน้า Link โดยจะมีรายละเอียด

  • Status แสดงการเปิดการใช้งาน

  • Title แสดงชื่อไฟล์ที่ใส่ Link ดาวน์โหลด

  • File Size แสดงขนาดไฟล์

  • Allow Files Extension แสดงประเภทไฟล์

 


ขั้นตอนสร้าง Menus (เมนู) สำหรับทางเข้าหน้าเว็บ

ขั้นตอนที่ 1: ทำการสร้างเมนูเลือก Menus > All Menu Items เพื่อเป็นช่องทางในการเข้าถึงการดาวน์โหลดหน้าเว็บ

 


ขั้นตอนที่ 2: เลือกที่ Menu Items เพื่อสร้างเมนูจากนั้นเลือก New

 


ขั้นตอนที่ 3: ขั้นตอนสร้างเมนูในส่วนนี้จะมีรายละเอียดให้กรอกหลายส่วน ในส่วนของ Details

  • Menu Title  ชื่อเมนูที่แสดงหน้าเว็บ

  • Details รายละเอียดในส่วนของ

  • Details Menu Item Type เลือกหมวดมู่ของ MDfile เพื่อให้แสดงหน้าเว็บในส่วนของ Link ระบบจะระบุให้อัตโนมัติ

 

ขั้นตอนที่ 4: เมื่อเลือก Select ในช่อง Menu Item Type จะมีรายการมากมายให้เลือกในส่วนของ MDFiles และจะมีรายการย่อยในขั้นนี้เลือก Categories List

 

ขั้นตอนที่ 5: ยังมีส่วนที่ต้องตั้งค่าอีกด้านข้าง ขาวมือจะเป็นการเลือกให้เมนูนี้แสดงที่หมวดหมู่ไหนหรือภายใต้ parents ไหน และการเปิด-ปิดการใช้งานเมนู

 


ขั้นตอนที่ 6: แสดงเมนูที่สร้างขึ้น Download

 


แสดงเมนูหน้าเว็บ



เมื่อเข้าไปที่ลิ้ง Download



ขั้นตอนที่ 7: ขั้นตอนสร้างเมนูย่อยจาก Categories แบบ Single Document เลือก New เพื่อสร้างเมนูขั้นตอนจะคล้ายๆขั้นตอนแรก

Menu Item Type เลือกเป็น Single Document Select Document เลือกไฟล์ทำหรับให้แสดงการโหลด จากไฟล์ Document ที่เราสร้างไว้ส่วนเมนูด้านข้างก็ระบุตาม ขั้นตอนที่ 5